สาวสั่งข้าวให้พ่อเดินไม่ได้ เปิดกล้องมาถึงกับใจฟู เห็นไรเดอร์ทำมากกว่าที่ขอไป

คลิปไวรัล 2.4 ล้านวิว สาวสั่งข้าวให้พ่อเดินไม่ได้

วอนขอให้ไรเดอร์ส่งให้ถึงในบ้าน-แกะกล่อง เปิดกล้องดูถึงกับใจฟู ไรเดอร์ทำมากกว่าที่ขอ

ผู้ใช้แอปพลิเคชั่น TikTok ชื่อว่า @alucowbell ได้มีการโพสต์คลิปวิดีเหตุการณ์ที่ทำเอาใจฟูกันทั้งโลกโซเชียล หลังจากหญิงสาวคนหนึ่งสั่งข้าวมาให้คุณพ่อที่เดินเองไม่ได้ จึงวานให้ไรเดอร์เอาข้าวเข้าไปให้ และแกะกล้องข้าวให้พ่อด้วย ซึ่งหลังจากเธอดูกล้องวงจรปิดในบ้าน ก็พบว่าไรเดอร์ทำมากกว่าที่เธอขอไปเสียอีก

โดยผู้โพสต์ ระบุว่า “เรื่องมีอยู่ว่า…สั่งอาหารให้พ่อกิน พ่อเดินเองไม่ได้ ทำให้ออกมารับข้าวไม่ได้ เลยวานพี่ Grab ช่วยเอาข้าวเข้าไปให้พ่อ และแกะกล่องอาหารให้พ่อด้วย เปิดกล้องมาหัวใจฟูมาก ขอบคุณนะคะ ไม่คิดว่าจะแกะให้หมดทุกอย่าง เหมือนไปนั่งกินที่ร้านเป๊ะๆ เลยค่ะ”

โดยคลิปเผยให้เห็นภาพคุณพ่อของผู้โพสต์นั่งอยู่ที่ห้องรับแขก และพบว่าไรเดอร์ทำนอกเหนือจากที่สั่ง ไม่ใช่แค่มาส่งข้าวแล้วกลับ แต่ไรเดอร์ยังแกะห่อข้าว และจัดของให้หมดทุกอย่าง เหมือนนั่งกินที่ร้าน โดยคุณพ่อมีหน้าที่เพียงตักอาหารเข้าปากเท่านั้น

หลังจากคลิปถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์มากมาย โดยต่างชื่นชมไรเดอร์ว่าน่ารักและมีน้ำใจ จนต้องวนดูหลายๆ รอบ และเรื่องนี้ก็มีคนดูไปกว่า 2.4 ล้านครั้งแล้ว

ข่าวอื่นๆ โลกที่ถูกลืม

โลกที่ถูกลืม

จากยอดเขาคิลิมันจาโร ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ไปจนถึงซากปรักหักพังของเมืองโบราณ “คาร์เธจ” ในตูนิเซีย และเกาะทาส “โกเร” ของเซเนกัล

ขณะที่บรรดาประเทศร่ำรวย พยายามปกป้องแลนด์มาร์คทางวัฒนธรรมของพวกเขาจากสภาพอากาศที่รุนแรงและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หลายประเทศในแอฟริกา ต้องเผชิญกับอุปสรรคเพิ่มเติม เช่น การขาดแคลนเงินทุนและความรู้ความชำนาญด้านโบราณคดี

“แอฟริกาประสบกับการสูญเสียและความเสียหายในวงกว้าง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ, การขาดแคลนน้ำ, การสูญเสียอาหาร, การสูญเสียชีวิต และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ซึ่งเราไม่ต้องการเสียมรดกของพวกเราไปด้วยเช่นกัน” นายนิค ซิมป์สัน ผู้ช่วยวิจัยโครงการริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแห่งแอฟริกา จากมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ กล่าว

สังคมวันนี้

แม้แอฟริกาจะมีจำนวนประชากรราว 1 ใน 5 ของโลก และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 4% ในระดับโลก แต่กาฬทวีปกลับได้รับผลกระทบด้านสภาพอากาศอย่างมาก ถึงจะไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับจำนวนแหล่งมรดกทั้งหมดของแอฟริกาที่ตกอยู่ในความเสี่ยง แต่งานวิจัยของซิมป์สัน ระบุว่า สถานที่สำคัญ 59 แห่ง กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม และการกัดเซาะที่รุนแรงกว่าเดิม เพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติเป็นพิเศษหลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึงศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากอุณภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ธารน้ำแข็งละลาย, ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้นตามมา

แม้แหล่งมรดกของแอฟริกาจะเสี่ยงต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง จากการสูญเสียและความเสียหายซึ่งเกี่ยวข้องสภาพอากาศ ภัยคุกคามเหล่านั้นกลับได้รับความสนใจน้อยกว่าความเสี่ยง ที่มีต่อสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและธรรมชาติแห่งอื่น ๆ ในประเทศที่ร่ำรวย ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งประมาณการว่า งานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อมรดกโลกที่เกี่ยวข้องกับแอฟริกา มีเพียง 1%

บางประเทศในแอฟริกา เช่น กานา และอียิปต์ ลงทุนอย่างหนักในการก่อสร้างกำแพงและแนวป้องกันคลื่นทะเล เพื่อปกป้องพื้นที่ชายฝั่ง แต่กลยุทธ์ “การป้องกันที่หนักแน่น” ดังกล่าว มักไม่คำนึงถึงระดับน้ำทะเลในอนาคต และอาจบิดเบือนความสมดุลทางนิเวศวิทยาตามธรรมชาติของพื้นที่ได้ ขณะที่การป้องกันแบบผสมผสาน เช่น กำแพงหินผสมดินโป่ง, หญ้าทะเล หรือการปลูกต้นโกงกางเพื่อชะลอการกระทบของคลื่น จะมีประสิทธิภาพมากกว่า

นอกจากนั้น การปรับปรุงธรรมาภิบาลในพื้นที่ที่ถูกคุกคาม และการทำให้มั่นใจว่า ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ มีส่วนร่วมในความพยายามในการอนุรักษ์และการปกป้องสถานที่สำคัญ คือสิ่งที่มีความสำคัญด้วยเช่นกัน